ประวัติความเป็นมา
                  ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญสำหรับกิจการอุตุนิยมวิทยาสามารถใช้สังเกตพื้นที่บนพื้นผิวโลก ได้หลายบริเวณ รวมทั้งได้รับรู้ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง จากทั่วทั้งโลก ดังนั้น ภาพถ่ายที่ได้จากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เป็นข้อมูลที่สำคัญ อย่างหนึ่งสำหรับนักพยากรณ์อากาศทำให้สามารถติดตามและวิเคราะห์ลักษณะอากาศที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่
ี่เครื่องมืออื่น ๆ มีข้อจำกัด หรือในมหาสมุทร เช่น ลักษณะของพายุหมุนเขตร้อน เป็นต้น

                   ดังนั้นภาพจากดาวเทียมจึงเป็นเครื่องมือสำหรับติดตามลักษณะอากาศร้ายเพื่อการเตือนภัยได้ดีที่สุดอย่างหนึ่งนักอุตุนิยม
วิทยาสามารถรับรู้ข้อมูลสภาพอากาศ ในช่วง 50 กิโลเมตร หรือมากกว่าทั่วทั้งโลกได้จากภาพจากดาวเทียม สามารถมองเห็นสภาพอากาศ ในมุมมองที่สูง  และลำดับการเคลื่อนตัวของพายุบนจอคอมพิวเตอร์ได้ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาดวงแรกเป็นของประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อ TIROS 1 (
Television and Infrared Observation Satellite) ขึ้นสู่อวกาศ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ 2503

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


วัตถุประสงค์ของดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

วัตถุประสงค์ของดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาที่กำหนดโดย National Operational Meteorological Satellite (NOMSS) คือ
                1. เพื่อถ่ายภาพชั้นบรรยากาศโลกประจำวัน
                2.  เพื่อได้ภาพต่อเนื่องของบรรยากาศโลก และเพื่อเก็บและถ่ายทอดข้อมูลจากสถานีภาคพื้นดิน
                3.  เพื่อทำการหยั่งตรวจอากาศโลกประจำวัน

>>  1 2


วิถีการโคจร
ของดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาตามลักษณะการโคจรรอบโลกของดาวเทียม  สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1.  ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาโคจรใกล้ขั้วโลก ( near-polar orbiting satellites ) หรือ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาชนิดโคจรผ่านขั้วโลก (polar orbiting satellite) ดาวเทียมชนิดนี้มีแนวการโคจรผ่านใกล้ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้  เคลื่อนที่ไปรอบโลกในแนวเหนือ - ใต้  ระยะความสูงของการโคจรรอบโลกจะน้อยกว่าดาวเทียมแบบอยู่กับที่  โดยจะอยู่สูงจากพื้นผิวโลกประมาณ 850 กิโลเมตร ได้แก่ ดาวเทียม NOAA, METEOR และ FY-1

2.  ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาค้างฟ้า หรือดาวเทียมประจำถิ่น (geostationary meteorological satellite) เป็นดาวเทียมที่มีตำแหน่งอยู่กับที่ตรงตำแหน่งที่กำหนด โดยสูงประมาณ 36,000 กิโลเมตรเหนือเส้นศูนย์สูตร โคจรรอบโลกด้วยความเร็วเดียวกับโลกหมุนรอบตัวเอง ได้แก่ ดาวเทียม GOES-W, GOES-E, METEOSAT, GMS, INSAT และ FY-2

ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาของประเทศต่างๆ